วันอังคารที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

เครื่องมือ 7 ชิ้น

เครื่องมือ 7 ชิ้น

1 แผนที่เดินดิน เป็นเครื่องมือชิ้นแรกที่ใช้เข้าไปสัมผัสกับพื้นที่นั้น จะต้องลงเดิน ทักทายทำความรู้จักคุ้นเคยกับผู้คน เห็นพื้นที่ทางกายภาพว่าบ้านเรือน สถานที่สำคัญตั้งอยู่ตรงไหนบ้าง และเข้าใจพื้นที่ทางสังคม ว่าจุดใดกันที่เป็นจุดศูนย์รวมของคนในชุมชน สถานที่ใดเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ หรือเป็นเขตหวงห้าม นักวิจัยคุณภาพจำเป็นต้องเรียนรู้ให้เข้าใจได้อย่างถ่องแท้ถึงเรื่องต่างๆเหล่านี้ของชุมชน
2 ผังเครือญาติ บอกความสัมพันธ์ของกลุ่มคนในครอบครัวหรือในวงศ์สกุลเดียวกัน ว่าใครเป็นใครกันบ้าง มีความผูกพันธ์กันระดับใดในครอบครัว ผังเครือญาตินี่มีประโยชน์มากสำหรับชาวสาธารณสุขครับ ดูผังเดียวอาจจะบอกได้ถึงโรคที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธ์เพื่อเตรียมการระวังป้องกัน ถ้าคุ้นเคยกับครอบครัวนี้ดี อาจจะช่วยแนะนำอะไรบางอย่างเพื่อแก้ปัญหาครอบครัวที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างสละสลวยสวยงาม แต่มันก็สำคัญที่คนบันทึกโดยเฉพาะคนที่เป็นโรคอาจจะทำให้เกิดจากพันธุ์กรรมได้ ต้องบันทึกได้ดีครับถึงจะได้ประโยชน์อย่างแท้จริง
3 โครงสร้างองค์กรชุมชน เครื่องมือนี้จะทำให้รู้จัก กลุ่มต่างๆในชุมชน เพื่อการเข้าหาชุมชนได้ง่ายขึ้น เราเน้นกลุ่มที่ยังมีบทบาทอยู่นะครับ จะเป็นกลุ่มที่ถูกจัดตั้งอย่างเป็นทางการ เช่น อบต อสม หรือว่าเป็นกลุ่มที่ไม่เป็นทางการ เช่น กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มผู้นำที่ไม่มีตำแหน่งอะไรแต่ได้รับความเคารพนับถือจากคนในชุมชน กลุ่มเกษตรกร ฯลฯ ยิ่งรู้กว้างๆยิ่งดี ยิ่งรู้ลึกซึ้งก็ยิ่งเป็นประโยชน์
4 ระบบสุขภาพชุมชน เครื่องมือนี้มีประโยชน์โดยตรงกับชาวสาธารณสุขเช่นกันครับ ถ้าเข้าถึงชุมชนได้เรียนรู้การดูแลรักษาตนเองของคนในชุมชน(ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะดูแลตนเองเป็นเบื้องต้นก่อน) การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์สมัยใหม่ สิ่งเหล่านี้จะเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่ต้องทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเพื่อการดูแลคนในชุมชนต่อไปในอนาคตเป็นการดูแลรักษาเบื้องต้นที่เราต้องยอมรับก่อนที่จะเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตขิงชุมชนให้ดีขึ้นเราต้องพึ่งพาอาศัยกัน
5 ปฏิทินชุมชน เป็นเครื่องมือในการทำความเข้าใจวิถีชีวิต การเข้าใจวิถีชีวิตของคนในชุมชนเป็นรากฐานสำคัญของการทำขบวนการเชิงรุก โดยอาศัยปฏิทินชุมชนเราจะหาจังหวะสำหรับการทำขบวนการเชิงรุกใดๆกับชุมชนได้อย่างเหมาะสม เช่นถ้ารู้ว่าเค้าจะเกี่ยวข้าวกันช่วงไหนก็พยายามหลีกเลี่ยงการรณรงค์ต่างๆ ปฏิทินชุมชนทำให้เราเข้าถึงกับการทำงานหน้าที่รับผิดชอบของคนในชุมชนมากขึ้นทำให้เรารู้ว่าแต่ละวัน เดือน ปี เราจะแก้ไขและสามารถพบปะชุมชนได้ที่ไหน อย่างไร
6 ประวัติศาสตร์ชุมชน เครื่องมือนี้เป็นการเรียนรู้ตื้นลึกหนาบางของชุมชนนั้นๆ ความภาคภูมิใจของคนในชุมชน หรืออดีตที่คนในชุมชนไม่อยากจะจำ บันทึกเรื่องราวต่างๆในอดีตทั้งเรื่องเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และการสาธารณสุข การใช้เครื่องมือนี้เปรียบเสมือนใช้เป็นใบเบิกทางเพื่อการกลมกลืนกับชุมชนนั้นๆจนเป็นเนื้อเดียวกัน และ การรู้ประวัติของชุมชนนั้นทำให้เราได้รู้จักและเข้ากับชุมชนได้ง่ายขึ้น
7 ประวัติชีวิต ของคนที่เป็นตัวอย่าง ไม่เน้นว่าต้องเป็นคนดี มีความสามารถหรือประสบความสำเร็จเท่านั้นนะครับ ประวัติชีวิตคนจนๆที่น่าสนใจก็ใช้เครื่องมือนี้ได้ ประวัติชีวิตของหมอตำแยในหมู่บ้าน หรือหมอน้ำมันหมอน้ำมนต์ ก็เช่นเดียวกัน เราใช้วิธีนี้ในการเรียนรู้ ความเป็นมนุษย์จากชีวิตเป็นประวัติบุคคลสำคัญของผู้นำที่ดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น