วันอังคารที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ตัวอย่างโครงการ โรคความดันโลหิตสูง

โครงการรำวงย้อนยุคเพื่อสุขภาพ

หลักการและเหตุผล

ความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญของประเทศในประเทศในปัจจุบัน และเป็นสาเหตุการตาย 5 อันดับแรกของประเทศ (สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข,2549)จากรายงานการเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อเรื้อรังปี 2551 ของสำนักระบาดวิทยาพบว่าประเทศไทยผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจำนวน 1,145,557 ราย โดยเป็นผู้ป่วยเก่า 781,627 ราย และป่วยใหม่ 363,930 ราย เป็นผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน 1,123,424 ราย และมีภาวะแทรกซ้อน 22,133 รายคิดเป็นร้อยละ 98.07 และ1.93 ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงทั้งหมดตามลำดับ หากปล่อยให้ผู้ป่วยให้ป่วยมีภาวะความดันโลหิตสูงเรื้อรังไม่ได้รับการรักษาจะทำให้ผู้ที่ป่วยมีชีวิตสั้นลงกว่าคนปกติ 10-20 ปี (วิทยา ศรีมาดา ,2546)
จากการศึกษาวิจัย เรื่องอุปสรรคการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ตำบลแม่กรณ์ ในปี 2553 ของ อาจารย์ ดร. จักรกฤษณ์ วังราษฎร์ และคณะ พบว่าการนำความรู้ไปปฏิบัติ ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง มีอุปสรรคที่สำคัญคือการหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีปริมาณเกลือสูง ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ในตำบลแม่กรณ์ส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจว่าการรับประทานอาหารที่มีเกลือสูงจะทำให้มีผลต่อการเพิ่มระดับความโลหิตสูงแต่ไม่สามารถหลีกเหลี่ยงได้เนื่องมาจากความเคยชินในรสชาติ หากไม่มีรสชาติและรับประทานอาหารมื้อนั้นๆ ได้น้อยลง และบางครอบครัวผู้ป่วยต้องรับประทานอาหารร่วมกับสมาชิกคนอื่นๆ ไม่ได้แยกอาหารเฉพาะจึงปรุงอาหารรสชาติเดียวกัน หากไม่เติมรสเค็มสมาชิกคนอื่นก็จะไม่ชอบและไม่รับประทานอาหารนั้นๆ อุปสรรคอีกประการหนึ่ง คือการไม่ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมร้อยละ 64.29 เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างเกือบทั้งหมดมีภาระการทำงานและการดูแลครอบครัว จึงไม่มีเวลาออกกำลังกาย บางส่วนเข้าใจว่าการออกแรงเช่น ทำงานบ้าน เดินเล่น เลี้ยงหลาน คือการออกกำลังกาย จึงไม่คิดออกกำลังกายอย่างอื่นเพิ่มเติม
ผลการสำรวจเบื้องต้น ข้อมูลด้านสุขภาพของประชาชนหมู่บ้านสวนดอก หมู่ที่ 3 ตำบลแม่กรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย พบว่ามีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 37 คน คิดเป็นร้อยละ 13.50 ของประชากรทั้งหมด และส่วนใหญ่พบว่าขาดการออกกำลังกาย ดังนั้นจึงจัดทำโครงการ การรำวงย้อนยุค เพื่อสุขภาพ เพื่อทำให้กลุ่มผู้ป่วยมีความรู้การออกกำลังกายอย่างถูกต้องด้วยการ รำวงย้อนยุค มีทัศนคติที่ดีต่อการออกกำลังกาย และสามารถปฏิบัติ การรำวงย้อนยุคเพื่อสุขภาพ นำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้เป็นเหตุเพื่อให้เกิดความสนุกสนาน สร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันในชุมชนเกิดความผ่อนคลายและทำให้สุขภาพดีขึ้น ทั้งด้านร่างกายจิตใจ สังคม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น