วันอังคารที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การประเมินความพึงพอใจสำหรับผู้เข้าร่วม

การประเมินความคิดเห็นและความพึงพอใจสำหรับผู้เข้าร่วม

ผลการประเมิน
หัวข้อประเมิน มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย ควรปรับปรุง
(5) (4) (3) (2) (1)
1. การประชาสัมพันธ์กิจกรรม/โครงการ  4.47
2. รูปแบบการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสม  4.76
3. เนื้อหา/กิจกรรมของโครงการมีความเหมาะสม  4.84
4. เวลาที่ใช้ในการจัดโครงการมีความเหมาะสม  4.76
5. วิทยากรในกิจกรรม มีความเหมาะสมเพียงใด  4.87
6. สถานที่จัดโครงการมีความเหมาะสม  4.79
7. การอำนวยความสะดวกการจัดกิจกรรมเหมาะสม  4.74
8. กิจกรรมนี้ช่วยการพัฒนาความรู้  4.82
9. กิจกรรมนี้ช่วยการพัฒนาทัศนคติ  4.76
10. การนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน  4.74
11. ภาพรวมของการจัดอบรม  4.82
12. ควรมีการจัดกิจกรรมรูปแบบนี้ต่อไป  4.92
รวมระดับค่าเฉลี่ย  4.77

หมายเหตุ
ระดับค่าเฉลี่ยของความรู้สึกต่อกิจกรรม
1.00-1.50 หมายถึง ระดับควรปรับปรุง
1.51-2.50 หมายถึง ระดับน้อย
2.51-3.50 หมายถึง ระดับปานกลาง
3.51-4.50 หมายถึง ระดับมาก
4.51-5.00 หมายถึง ระดับมากที่สุด
จากตาราง แสดงผลการประเมินความคิดเห็นและความพึงพอใจสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมการอบรม โดยมีระดับค่าเฉลี่ยรวมของความรู้สึกต่อกิจกรรมเท่ากับ 4.77 ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด

ตัวอย่างโครงการ โรคความดันโลหิตสูง

โครงการรำวงย้อนยุคเพื่อสุขภาพ

หลักการและเหตุผล

ความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญของประเทศในประเทศในปัจจุบัน และเป็นสาเหตุการตาย 5 อันดับแรกของประเทศ (สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข,2549)จากรายงานการเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อเรื้อรังปี 2551 ของสำนักระบาดวิทยาพบว่าประเทศไทยผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจำนวน 1,145,557 ราย โดยเป็นผู้ป่วยเก่า 781,627 ราย และป่วยใหม่ 363,930 ราย เป็นผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน 1,123,424 ราย และมีภาวะแทรกซ้อน 22,133 รายคิดเป็นร้อยละ 98.07 และ1.93 ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงทั้งหมดตามลำดับ หากปล่อยให้ผู้ป่วยให้ป่วยมีภาวะความดันโลหิตสูงเรื้อรังไม่ได้รับการรักษาจะทำให้ผู้ที่ป่วยมีชีวิตสั้นลงกว่าคนปกติ 10-20 ปี (วิทยา ศรีมาดา ,2546)
จากการศึกษาวิจัย เรื่องอุปสรรคการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ตำบลแม่กรณ์ ในปี 2553 ของ อาจารย์ ดร. จักรกฤษณ์ วังราษฎร์ และคณะ พบว่าการนำความรู้ไปปฏิบัติ ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง มีอุปสรรคที่สำคัญคือการหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีปริมาณเกลือสูง ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ในตำบลแม่กรณ์ส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจว่าการรับประทานอาหารที่มีเกลือสูงจะทำให้มีผลต่อการเพิ่มระดับความโลหิตสูงแต่ไม่สามารถหลีกเหลี่ยงได้เนื่องมาจากความเคยชินในรสชาติ หากไม่มีรสชาติและรับประทานอาหารมื้อนั้นๆ ได้น้อยลง และบางครอบครัวผู้ป่วยต้องรับประทานอาหารร่วมกับสมาชิกคนอื่นๆ ไม่ได้แยกอาหารเฉพาะจึงปรุงอาหารรสชาติเดียวกัน หากไม่เติมรสเค็มสมาชิกคนอื่นก็จะไม่ชอบและไม่รับประทานอาหารนั้นๆ อุปสรรคอีกประการหนึ่ง คือการไม่ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมร้อยละ 64.29 เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างเกือบทั้งหมดมีภาระการทำงานและการดูแลครอบครัว จึงไม่มีเวลาออกกำลังกาย บางส่วนเข้าใจว่าการออกแรงเช่น ทำงานบ้าน เดินเล่น เลี้ยงหลาน คือการออกกำลังกาย จึงไม่คิดออกกำลังกายอย่างอื่นเพิ่มเติม
ผลการสำรวจเบื้องต้น ข้อมูลด้านสุขภาพของประชาชนหมู่บ้านสวนดอก หมู่ที่ 3 ตำบลแม่กรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย พบว่ามีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 37 คน คิดเป็นร้อยละ 13.50 ของประชากรทั้งหมด และส่วนใหญ่พบว่าขาดการออกกำลังกาย ดังนั้นจึงจัดทำโครงการ การรำวงย้อนยุค เพื่อสุขภาพ เพื่อทำให้กลุ่มผู้ป่วยมีความรู้การออกกำลังกายอย่างถูกต้องด้วยการ รำวงย้อนยุค มีทัศนคติที่ดีต่อการออกกำลังกาย และสามารถปฏิบัติ การรำวงย้อนยุคเพื่อสุขภาพ นำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้เป็นเหตุเพื่อให้เกิดความสนุกสนาน สร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันในชุมชนเกิดความผ่อนคลายและทำให้สุขภาพดีขึ้น ทั้งด้านร่างกายจิตใจ สังคม

ตัวอย่างโครงการ โรคเบาหวาน

โครงการ พฤติกรรมการบริโภคอาหาร เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยโรคเบาหวาน

หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์และสาธารณสุขที่มีความทันสมัย อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงอันเกิดจากนโยบายการพัฒนาประเทศของรัฐบาลในแต่ละยุคแต่ละสมัย ตลอดจนการเข้าถึงบริการของรัฐยามเจ็บป่วยของประชาชนที่เสมอภาคและเท่าเทียมกันในโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า ทำให้สถานภาพด้านสุขภาพและแบบแผนพฤติกรรมการเจ็บป่วยของประชาชนเปลี่ยนไป ดังจะเห็นได้จากการเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อที่เกิดจากตัวเชื้อโรค สิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมและสุขวิทยาส่วนบุคคลมีแนวโน้มลดลง แต่การเจ็บป่วยด้วยโรคที่ไม่ติดต่ออันเกี่ยวเนื่องมาจากพฤติกรรมและวิถีชีวิตกลับมีแนวโน้มสูงขึ้น เช่น การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคเบาหวานและอุบัติเหตุ ที่มีอัตราการเกิดโรคเพิ่มสูงขึ้นและเป็นสาเหตุการตายในอันดับต้นๆ ของประเทศ
โรคเบาหวานเป็นกลุ่มโรคเรื้อรัง จากสถิติผู้มารับบริการโรงพยาบาลประชานุเคราะห์ด้วยโรคเบาหวานในปี พ.ศ. 2547,2548 และ 2549 จำนวน 333, 341 และ 350 ราย ตามลำดับ ผลการคัดกรองโรคเบาหวานในกลุ่มผู้ป่วย 40 ปี ขึ้นไป และมีผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมระดับน้ำได้ในเลือดให้ปกติ เมื่อศึกษาเฉพาะประชากรที่อาศัยอยู่ใน หมู่ที่ ๑ ตำบลแม่กรณ์ โดยการสำรวจสุขภาพครอบครัวและชุมชน พบว่ามีผู้ป่วยโรคความเบาหวานร้อยละ 4.83 ของประชากรทั้งหมด 243 คน พฤติกรรมสุขภาพของประชาชนหมู่ที่ ๑ ตำบลแม่กรณ์ พบว่ากลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังอยู่เป็นอันดับต้นๆ ซึ่งกลุ่มนี้จะอาศัยอยู่ในชุมชนที่มีวิถีชีวิต วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตค่อนข้างมาก บุตรหลานที่ดูแลส่วนใหญ่เปลี่ยนวิถีชีวิตจากอาชีพเกษตรกรรม เป็นอาชีพรับจ้าง จึงไม่มีเวลาดูแลประกอบอาหารที่บ้านเท่าที่ควร ส่วนใหญ่พึ่งพาอาหารที่ปรุงสำเร็จ ประกอบกับผู้ป่วยโรคเบาหวานมีอายุค่อนข้างมาก ทำให้อัตราการเพิ่มการเป็นโรคเบาหวานสูงมาก
จากสภาพปัญหาดังกล่าว ชุมชนบ้านแม่กรณ์ หมู่ที่ ๑ อ.เมือง จ. เชียงราย กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานส่วนใหญ่ที่พบสาเหตุหลักคือ พฤติกรรมการบริโภคอาหารไม่ถูกต้อง ดังนั้น จึงได้จัดโครงการ พฤติกรรมการบริโภคอาหาร เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพื่อให้กลุ่มผู้ป่วยเกิดความรู้ เกิดความตระหนัก เพิ่มศักยภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ที่ถูกต้อง เหมาะสม ส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรง สุขภาพจิตดี เพื่อควบคุมโรคเบาหวาน

เครื่องมือ 7 ชิ้น

เครื่องมือ 7 ชิ้น

1 แผนที่เดินดิน เป็นเครื่องมือชิ้นแรกที่ใช้เข้าไปสัมผัสกับพื้นที่นั้น จะต้องลงเดิน ทักทายทำความรู้จักคุ้นเคยกับผู้คน เห็นพื้นที่ทางกายภาพว่าบ้านเรือน สถานที่สำคัญตั้งอยู่ตรงไหนบ้าง และเข้าใจพื้นที่ทางสังคม ว่าจุดใดกันที่เป็นจุดศูนย์รวมของคนในชุมชน สถานที่ใดเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ หรือเป็นเขตหวงห้าม นักวิจัยคุณภาพจำเป็นต้องเรียนรู้ให้เข้าใจได้อย่างถ่องแท้ถึงเรื่องต่างๆเหล่านี้ของชุมชน
2 ผังเครือญาติ บอกความสัมพันธ์ของกลุ่มคนในครอบครัวหรือในวงศ์สกุลเดียวกัน ว่าใครเป็นใครกันบ้าง มีความผูกพันธ์กันระดับใดในครอบครัว ผังเครือญาตินี่มีประโยชน์มากสำหรับชาวสาธารณสุขครับ ดูผังเดียวอาจจะบอกได้ถึงโรคที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธ์เพื่อเตรียมการระวังป้องกัน ถ้าคุ้นเคยกับครอบครัวนี้ดี อาจจะช่วยแนะนำอะไรบางอย่างเพื่อแก้ปัญหาครอบครัวที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างสละสลวยสวยงาม แต่มันก็สำคัญที่คนบันทึกโดยเฉพาะคนที่เป็นโรคอาจจะทำให้เกิดจากพันธุ์กรรมได้ ต้องบันทึกได้ดีครับถึงจะได้ประโยชน์อย่างแท้จริง
3 โครงสร้างองค์กรชุมชน เครื่องมือนี้จะทำให้รู้จัก กลุ่มต่างๆในชุมชน เพื่อการเข้าหาชุมชนได้ง่ายขึ้น เราเน้นกลุ่มที่ยังมีบทบาทอยู่นะครับ จะเป็นกลุ่มที่ถูกจัดตั้งอย่างเป็นทางการ เช่น อบต อสม หรือว่าเป็นกลุ่มที่ไม่เป็นทางการ เช่น กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มผู้นำที่ไม่มีตำแหน่งอะไรแต่ได้รับความเคารพนับถือจากคนในชุมชน กลุ่มเกษตรกร ฯลฯ ยิ่งรู้กว้างๆยิ่งดี ยิ่งรู้ลึกซึ้งก็ยิ่งเป็นประโยชน์
4 ระบบสุขภาพชุมชน เครื่องมือนี้มีประโยชน์โดยตรงกับชาวสาธารณสุขเช่นกันครับ ถ้าเข้าถึงชุมชนได้เรียนรู้การดูแลรักษาตนเองของคนในชุมชน(ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะดูแลตนเองเป็นเบื้องต้นก่อน) การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์สมัยใหม่ สิ่งเหล่านี้จะเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่ต้องทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเพื่อการดูแลคนในชุมชนต่อไปในอนาคตเป็นการดูแลรักษาเบื้องต้นที่เราต้องยอมรับก่อนที่จะเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตขิงชุมชนให้ดีขึ้นเราต้องพึ่งพาอาศัยกัน
5 ปฏิทินชุมชน เป็นเครื่องมือในการทำความเข้าใจวิถีชีวิต การเข้าใจวิถีชีวิตของคนในชุมชนเป็นรากฐานสำคัญของการทำขบวนการเชิงรุก โดยอาศัยปฏิทินชุมชนเราจะหาจังหวะสำหรับการทำขบวนการเชิงรุกใดๆกับชุมชนได้อย่างเหมาะสม เช่นถ้ารู้ว่าเค้าจะเกี่ยวข้าวกันช่วงไหนก็พยายามหลีกเลี่ยงการรณรงค์ต่างๆ ปฏิทินชุมชนทำให้เราเข้าถึงกับการทำงานหน้าที่รับผิดชอบของคนในชุมชนมากขึ้นทำให้เรารู้ว่าแต่ละวัน เดือน ปี เราจะแก้ไขและสามารถพบปะชุมชนได้ที่ไหน อย่างไร
6 ประวัติศาสตร์ชุมชน เครื่องมือนี้เป็นการเรียนรู้ตื้นลึกหนาบางของชุมชนนั้นๆ ความภาคภูมิใจของคนในชุมชน หรืออดีตที่คนในชุมชนไม่อยากจะจำ บันทึกเรื่องราวต่างๆในอดีตทั้งเรื่องเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และการสาธารณสุข การใช้เครื่องมือนี้เปรียบเสมือนใช้เป็นใบเบิกทางเพื่อการกลมกลืนกับชุมชนนั้นๆจนเป็นเนื้อเดียวกัน และ การรู้ประวัติของชุมชนนั้นทำให้เราได้รู้จักและเข้ากับชุมชนได้ง่ายขึ้น
7 ประวัติชีวิต ของคนที่เป็นตัวอย่าง ไม่เน้นว่าต้องเป็นคนดี มีความสามารถหรือประสบความสำเร็จเท่านั้นนะครับ ประวัติชีวิตคนจนๆที่น่าสนใจก็ใช้เครื่องมือนี้ได้ ประวัติชีวิตของหมอตำแยในหมู่บ้าน หรือหมอน้ำมันหมอน้ำมนต์ ก็เช่นเดียวกัน เราใช้วิธีนี้ในการเรียนรู้ ความเป็นมนุษย์จากชีวิตเป็นประวัติบุคคลสำคัญของผู้นำที่ดี